วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เรือรบYamato






เรือรบหลวงยามาโต มีการสร้างไว้อย่างลับสุดยอดในบริเวณด้านหลังฐานทัพเรือในจังหวัดฮิโรชิมาของญี่ปุ่น กล่าวกันว่าแบบแปรนหรือพิมพิ์เขียวในการสร้างนั้นไม่มีวิศวกรอาศัยแบบร่างหลาย ๆ ชิ้นมาพิจารณาในการสร้าง เพราะถือว่าเป็นความลับสุดยอด ยามาโตถือได้ว่าเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อครั้นที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ข่าวเกี่ยวกับเรือลำนี้ พวกเขาเชื่อว่าเรือยามาโตมีขนาดไม่ต่างจากเรือรบขนาดใหญ่ของฝ่ายตนมากนัก แต่เมื่อเปรียบเทียบกันตามจริงเรือยามาโตมีขนาดใหญ่กว่ามาก ป้อมปืน 3 ป้อม ติดปืนใหญ่ป้อมล่ะ 3 กระบอกปืนแต่ล่ะกระบอกขนาด 18.1 นิ้ว ซึ่งถือได้ว่าไม่มีเรือรบลำใดในโลกที่มีปืนใหญ่ขนาดนี้ แม้แต่เจ้าแห่งนาวีอย่างประเทศอังกฤษก็ยังมีแต่เรือที่ติดปืนใหญ่ขนาด 18 นิ้ว ใช้สำหรับเรือระดมยิงชายฝั่งเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2477 ภายหลังจากการทำสัญญาลดอาวุธแล้ว จักรพรรดินาวีได้ถือโอกาส พยายามแข่งขันการสร้างเรือประจัญบานที่มีอานุภาพสูงกับอังกฤษ และสหรัฐฯ แต่เนื่องจากปัญหาด้านการเงินทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถต่อเรือสู้สหรัฐ ได้ จึงได้วางแผนว่า ไหนๆ จะสร้างเรือแล้ว ก็สมควรที่จะสร้างให้มีขนาดใหญ่อีกทั้งมีอาวุธปืนใหญ่ที่เรือข้าศึกไม่สามารถจะเข้ามา ในรัศมีของปืนเรือขนาดใหญ่นี้ได้เลย จึงสมควรที่จะมีเรือประจัญบานที่มีจำนวนน้อยกว่า แต่มีสมรรถนะที่เหนือกว่าศัตรูในการต่อกรกับสหรัฐ ฯ ที่ช่วงชิงความ เป็นใหญ่ในมหาสมุทร แปซิฟิก ญี่ปุ่นจึงได้เริ่มวางแผนในการสร้างเรือประจัญบานลำที่ 1 โดยใช้ชื่อว่า "ยามาโต้" ลำที่ 2 ให้ชื่อว่า "มุซาชิ" ลำที่ 3 ใช้ชื่อว่า "ชินาโน" ทั้งมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นจนถึง 5 ลำด้วยกัน ด้วยการติดตั้งปืนใหญ่เรือขนาด 18 นิ้ว หรือ 46 เซนติเมตร จำนวนลำละ 9 กระบอก ที่มีรัศมีการยิงเหนือเรือประจัญบานของศัตรู สำหรับกองเรือที่ 16 นั้น จะนำการติดตั้งปืนเรือขนาดใหญ่ ขนาด 46 เซนติเมตร จำนวนหลายกระบอก โดยให้ชื่อว่า เรือลาดตระเวนประจัญบาน ซึ่งแต่ละลำมีระวางลำละ 47,000 ตัน ซึ่งการออกแบบ นั้นลุล่วง ไปด้วยดี แต่หลังจากสัญญาลดอาวุธที่กรุงวอชิงตัน ญี่ปุ่นได้สัดส่วนของเรือสงคราม 5 : 5 : 3 หรือ 10 : 10 : 6 นั้น คือ อังกฤษ กับสหรัฐ ฯ ได้ประเทศละ 10 ส่วนญี่ปุ่นนั้นได้เพียง 6 เท่านั้น ในการนี้ผู้แทนของญี่ปุ่นที่ไปร่วมประชุมนั้นกลับมารายงานจอมพลเรือโตโง เฮฮัจจิโร่ว ว่า เราแพ้เขาเสียแล้ว ท่านจอมพลเรือพูดเรียบ ๆ ว่า "สำหรับการฝึกนั้นไม่มีการจำกัดด้วยใช่ไหม" ดังนั้นที่มีมติของจักรพรรดินาวี มีการฝึกใน 1 สัปดาห์นั้น ถึง 7 วัน ไม่มีวันเสาร์ อาทิตย์ คือ เง็ด, เง็ด, คะ, ซุย, มก, คิน, คิน จันทร์ - จันทร์ - อังคาร - พุธ - พฤหัสบดี - ศุกร์ - ศุกร์ ตัดวันเสาร์อาทิตย์ออกไป ทั้งลดความสบายสำหรับทหารประจำเรือไปเพิ่มอาวุธทุกชนิดให้มากกว่าเรือของคู่ต่อสู้ ทั้งมีเพลงร้องเพื่อปลุกใจเหล่าทหารของราชนาวีอีกด้วย ดังนั้นแผนที่จะสร้างกองเรือที่ 88 นั้น ก็กลายเป็นอากาศธาตุไปอย่างไม่มีทางเลือก ในการออกแบบสร้างเรือประจัญบานมาได้นั้น ได้ข้อมูลในการออกแบบไว้ก่อนหน้านี้เป็นรากฐาน มีการปรับปรุงเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้นในเวลาที่ผ่านมาร่วม 20 ปี เรือประจัญบานยามาโต้ เคยถูกฝูงบินโจมตีของสหรัฐ ฯ เข้าโจมตี เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ.2486 ในระหว่างการเดินทางไปเกาะนิวบริเตน โดยได้บรรทุกทหารบก จำนวน 1,000 นายไปด้วย เพื่อไปส่งที่ฐานทัพ ราบาว บนเกาะนิวบริเตน ต่อมาเมื่อเดินทางออกจากฐานทัพ เรือหน้า วงปะการังตรุก ในหมู่เกาะ คาโรไลน์ ได้ถูกเรือดำน้ำ สเคท (SS-305) ยิงด้วยตอร์ ปิโดถูกที่บริเวณ ยุ้งโซ่สมอ ทำให้ทหารที่กำลังเรียงโซ่สมอเสียชีวิตไป 6 นาย แต่เรือไม่ได้รับ ความเสียหายยังสามารถทำความเร็วได้ถึง 27 นอต เป็นปกติ นับเป็นครั้งแรกที่ถูกโจมตีจาก เรือดำน้ำสหรัฐฯ และในยุทธการ "โช" ขณะเดินทางผ่านทะเลซิบูยัน ร่วมกับเรือ มุซาชิ ใน กำลังรบส่วนกลางก็ถูกเครื่องบินจากกำลังรบที่ 38 ของสหรัฐ ฯ โจมตีเมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เรือยามาโต้ ได้รับความเสียหายเล็กน้อย
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2488 เรือประจัญบานยามาโต้ พร้อมด้วยเรือลาดตระเวน เบา ยะฮะงิ เรือพิฆาต สึซึสึกิ ฟุยุสึกิ อิโซะคาเซะ ยุคิคาเซะ ฮามะคาเซะ อาซะชิโมะ คาซุมิ และฮัดสึชิโมะ รวม 10 ลำ ได้ออกเดินทางจากที่จอดเรือ ฮัดจิราชิมะ ของจังหวัดยามากุจิ ผ่าน ช่องแคบบังโง เลาะชายฝั่งของแหลมโอซุมิ ของจังหวัด คะโงชิมะ แล้วเดินทางต่อไปทางตะวัน ตก เพื่อเปลี่ยนเข็มลงใต้เข้าสู่เกาะโอคินาวา ก็ถูกโจมตีจากกำลังทางอากาศของกำลังรบ เฉพาะ กิจที่ 58 โดยการโจมตีหลักมาจากหมวดเฉพาะกิจที่ 58.1 ซึ่งประกอบด้วยเรือบรร ทุกเครื่องบิน ฮอร์เน็ต ลำที่ 2 (CV-12) วาส์พ ลำที่ 2 (CV-18) เบ็นนิงตัน (CV-20) เรือบรร ทุกเครื่องบินเบา เบลลิว วูด (CVL-24) ซาน ฮาซินโต้ (CVL-30) และหมวดเฉพาะกิจที่ 58.3 ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน เอสเซ็ก (CV-9) บังเกอร์ ฮิล (CV-17) เรือบรรทุก เครื่องบินเบา คาบอต (CVL-27) และ บาตาอัน (CVL-29) ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินแฮนคอก (CV-19) ส่งเครื่องบิน 53 เครื่อง ขึ้นช้าไป 15 นาที จึงไม่พบเป้าหมาย กำลังหลักในการ โจมตีทางอากาศของหมวดเฉพาะกิจทั้งสองนี้มีเครื่องบินขับไล่ F6F (เฮลแคท) 283 เครื่อง เครื่องบินขับไล่โจมตี F4U (คอร์แซร์) 180 เครื่อง เครื่องบินดำทิ้งระเบิด SB2C (เฮล ได เวอร์) 72 เครื่อง และเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด TBM (อเวนเจอร์) 114 เครื่อง เครื่องบินเหล่านี้ ได้เข้าโจมตีกำลังรบโจมตีพิเศษ ที่มีเรือประจัญบานยามาโต้ เป็นเรือธง 6 ระลอก
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 กองทัพสหรัฐมีการพิจารณาให้ใช้เรือทั้งหมด 10 ลําเข้าบุกเกาะโอกินาว่า เรือยามาโตะได้รับคำสั่งจากกองทัพญี่ปุ่นให้เข้าปฏิบัติการที่เรียกว่า KIKUSUI โดยมีภารกิจให้ทำการล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกจากน่านน้ำโอกินาวา เปิดโอกาสให้ฝูงบินคามิคาเซ่ของญี่ปุ่นบินฝ่าด่านป้องกันของฝูงบินอเมริกา เพื่อเข้าโจมตีกองทัพเรือและปกป้องไม่ให้กองทัพสหรัฐยึดเกาะโอกินาวาได้ แต่ในปฏิบัติการนี้เรือยามาโตะมีน้ำมันเชื้อเพลิงเพียงแค่เที่ยวเดียวเท่านั้น เรือประจัญบานยามาโตะและเรือลําอื่นถูกตรวจพบในเวลาหลังเริ่มปฏิบัติการ 12.35 นาที จึงถูกเครื่องบินสหรัฐ 3 หน่วยกิจเข้าโจมตีซึ่งแต่ละหน่วยกิจมีเครื่องบินหน่วยละ 360 ลําต่อหน่วย เรือประจัญบานยามาโตะโดนโจมตีทางอากาศอย่างหนักตั้งแต่ 12.35 น. - 14.23 น. จนทําความเสียหายแก่เรือมากดังนั้นเรือจึงเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง จากการตรวจสอบ เรือประจัญบานยามาโตะถูกตอร์ปิโดทั้งหมด 13 ลูก ลูกระเบิดขนาดใหญ่ซึ่งมีขนาด 250กก. - 500กก. ทั้งหมด 6 ลูก ลูกระเบิดขนาดกลางอีกมากกว่า 100 ลูก และลูกระเบิดขนาดเล็กอีกมากกว่า 120 ลูก เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2488 เรือประจัญบานยามาโต้ พร้อมด้วยเรือลาดตระเวน เบา ยะฮะงิ เรือพิฆาต สึซึสึกิ ฟุยุสึกิ อิโซะคาเซะ ยุคิคาเซะ ฮามะคาเซะ อาซะชิโมะ คาซุมิ และฮัดสึชิโมะ รวม 10 ลำ ได้ออกเดินทางจากที่จอดเรือ ฮัดจิราชิมะ ของจังหวัดยามากุจิ ผ่าน ช่องแคบบังโง เลาะชายฝั่งของแหลมโอซุมิ ของจังหวัด คะโงชิมะ แล้วเดินทางต่อไปทางตะวัน ตก เพื่อเปลี่ยนเข็มลงใต้เข้าสู่เกาะโอคินาวา ก็ถูกโจมตีจากกำลังทางอากาศของกำลังรบ เฉพาะ กิจที่ 58 โดยการโจมตีหลักมาจากหมวดเฉพาะกิจที่ 58.1 ซึ่งประกอบด้วยเรือบรร ทุกเครื่องบิน ฮอร์เน็ต ลำที่ 2 (CV-12) วาส์พ ลำที่ 2 (CV-18) เบ็นนิงตัน (CV-20) เรือบรร ทุกเครื่องบินเบา เบลลิว วูด (CVL-24) ซาน ฮาซินโต้ (CVL-30) และหมวดเฉพาะกิจที่ 58.3 ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน เอสเซ็ก (CV-9) บังเกอร์ ฮิล (CV-17) เรือบรรทุก เครื่องบินเบา คาบอต (CVL-27) และ บาตาอัน (CVL-29) ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินแฮนคอก (CV-19) ส่งเครื่องบิน 53 เครื่อง ขึ้นช้าไป 15 นาที จึงไม่พบเป้าหมาย กำลังหลักในการ โจมตีทางอากาศของหมวดเฉพาะกิจทั้งสองนี้มีเครื่องบินขับไล่ F6F (เฮลแคท) 283 เครื่อง เครื่องบินขับไล่โจมตี F4U (คอร์แซร์) 180 เครื่อง เครื่องบินดำทิ้งระเบิด SB2C (เฮล ได เวอร์) 72 เครื่อง และเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด TBM (อเวนเจอร์) 114 เครื่อง เครื่องบินเหล่านี้ ได้เข้าโจมตีกำลังรบโจมตีพิเศษ ที่มีเรือประจัญบานยามาโต้ เป็นเรือธง 6 ระลอกด้วยกัน ราย ละเอียดการถูกโจมตีของเรือประจัญบานยามาโต้มีดังนี้ ระลอกโจมตี เวลา จำนวนเครื่องบิน ความเสียหาย 1 12.35 -12.50 260 ถูกตอร์ปิโดที่กราบซ้าย 1 ลูกถูกลูกระเบิด ที่ท้ายเรือทหารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก 2 13.18 - 13.34 120 ถูกตอร์ปิโดที่กราบซ้าย 3 ลูก พลประจำปืนกลต่อ สู้อากาศยานเสียชีวิตถึง 1 ใน 4 เรือ เอียง 8องศา 3 13.35 -13.53 150 ถูกตอร์ปิโดที่กราบขวา 1 ลูกกราบซ้าย 3 ลูก เรือเอียง 15 องศา ความเร็วเหลือ 18 นอต 4 14.07 -14.20 150 ถูกตอร์ปิโดที่กราบขวาอีก 4 ลูกถูกลูกระเบิด 15 ลูกความเร็วเหลือ 7 นอต เรือตีวงไปทางซ้าย เรื่อยๆ ไม่หยุด 5-6 14.25 150 ระบบการสื่อสารเสียหายทั้งหมดเครื่องถือท้ายขัดข้องต้องใช้แรงคนบังคับหางเสือถูกที่กราบซ้ายอีก1 ลูก ถูกลูกระเบิดอีกนับไม่ถ้วน เรือเอียง 35 องศาเกิดการระเบิดและจมโดยตะแคง ทางกราบซ้ายแล้วพลิกคว่ำบริเวณ 200 ไมล์ เหนือเกาะตกกุชิมะ จังหวัด คะโงชิระดับน้ำลึก325เมตร จากการโจมตีรวมประมาณ 1,000 เที่ยวบิน ทางฝ่ายสหรัฐ ฯ แจ้งว่าได้ใช้ตอร์ปิโดไป 200 ลูก ลูกระเบิดขนาดใหญ่ (250 - 500 กิโลกรัม) 100 ลูก และลูกระเบิดขนาดกลาง (60 - 100 กิโลกรัม) อีกมากกว่า 200 ลูก หลังจากที่เรือรบญี่ปุ่นคือ เรือประจัญบานยามาโต้ เรือ ลาดตระเวนเบา ยะฮะงิ และเรือพิฆาตอีก 5 ลำ จมไปแล้ว ทหารเรือญี่ปุ่นที่ลอย คออยู่ในน้ำ ได้ถูกเครื่องบินของสหรัฐ ฯ ทำการยิงกราดอย่างโหดร้ายไร้มนุษยธรรม และความเป็นชาวเรือ(ความเห็นผมทหารสหรัฐคงแค้นที่ทหารสหรัฐในฟิลิปินส์ถูกทหารญี่ปุ่ณเผาทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่คือเอาไปขังราดน้ำมันแล้วโยนไฟไส่ราวๆ5-8000คน) ส่วน พลเรือโท อิโต้ เซอิจิ ผู้บัญชาการ กำลังรบโจมตีพิเศษ และ นาวาเอก อะริกะ โกซักกุ ผู้บังคับการเรือ ประจัญบาน ยามาโต้ ได้สละชีวิตจมไปกับเรือ

ไม่มีความคิดเห็น: